analyticstracking
ผลสำรวจเรื่อง “ความพึงพอใจคนกรุงต่อการแก้ปัญหาน้ำท่วม กทม. ”
คนกรุงส่วนใหญ่ร้อยละ 52.8 มีปัญหาน้ำท่วมที่อยู่อาศัย
ผลกระทบที่ได้รับจากปัญหาน้ำท่วมมากที่สุดคือ การจราจรติดขัด ไม่สามารถเดินทางไปไหนได้
โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 58.5 พึงพอใจค่อนข้างมากถึงมากที่สุดต่อการแก้ปัญหาน้ำท่วมของ กทม.
ทั้งนี้ส่วนใหญ่ร้อยละ 80.3 อยากให้เตรียมความพร้อมในการรับมือ มีแผนป้องกันน้ำท่วม
ส่วนใหญ่ร้อยละ 65.8 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุดว่าปีหน้าจะรับมือกับปัญหาน้ำท่วม กทม. ได้
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                  กรุงเทพโพลล์โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพสำรวจความคิดเห็น
ประชาชนเรื่อง “ความพึงพอใจคนกรุงต่อการแก้ปัญหาน้ำท่วม กทม.” โดยเก็บ
ข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,203 คน พบว่า คนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่
ร้อยละ 52.8 มีปัญหาที่อยู่อาศัยเกิดน้ำท่วม โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 48.5
เกิดน้ำท่วมทุกครั้งที่ฝนตก ส่วนร้อยละ 4.3 เกิดน้ำท่วมครั้งแรกตั้งแต่พักอาศัยมา

ขณะที่ร้อยละ 47.2 ไม่เกิดน้ำท่วม
 
                  ผลกระทบที่ได้รับจากปัญหาน้ำท่วมมากที่สุดคือ การจราจรติดขัด
ไม่สามารถเดินทางไปไหนได้คิดเป็นร้อยละ 47.5
รองลงมาคือ เกิดขยะ น้ำเน่าเหม็น
คิดเป็นร้อยละ 36.8 เกิดผลกระทบต่ออาชีพ การงาน การเรียน คิดเป็นร้อยละ 24.4 เกิด
โรคที่มาจากน้ำ เช่น น้ำกัดเท้า เชื้อรา คิดเป็นร้อยละ 15.0 และรถเสีย รถพัง คิดเป็น
ร้อยละ 11.3
 
                  ด้านความพึงพอใจต่อการแก้ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ กทม. พบว่า
ส่วนใหญ่ร้อยละ 58.5 พึงพอใจค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
ขณะที่ร้อยละ 41.5
พึงพอใจค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
 
                  ทั้งนี้เมื่อถามว่าอยากให้ กทม. พัฒนา แก้ไข ปรับปรุงในเรื่องใด กับปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ กทม.
ส่วนใหญ่ร้อยละ 80.3 อยากให้เตรียมความพร้อมในการรับมือ มีการวางแผนป้องกันน้ำท่วม เช่น ขุดลอกคูคลอง
กำจัดขยะ
รองลงมาคือ อยากให้ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่อย่างทันท่วงที คิดเป็นร้อยละ 48.0 และอยาก
ให้มีความฉับไวในการแก้ปัญหาน้ำท่วม คิดเป็นร้อยละ 46.8
 
                  สุดท้ายเมื่อถามว่าเชื่อมั่นมากน้อยเพียงใดว่าปีหน้า กทม. จะสามารถรับมือกับปัญหาน้ำท่วมได้
ส่วนใหญ่ร้อยละ 65.8 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
ขณะที่ร้อยละ 34.2 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
 
 
                  โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
             1. ข้อคำถาม “ปัจจุบันที่อยู่อาศัยของท่านเกิดปัญหาน้ำท่วมหรือไม่อย่างไร”

 
ร้อยละ
เกิดน้ำท่วม
โดย เกิดน้ำท่วมทุกครั้งที่ฝนตก ร้อยละ 48.5
  เกิดน้ำท่วมครั้งแรกตั้งแต่พักอาศัยมา ร้อยละ 4.3
52.8
ไม่เกิดน้ำท่วม
47.2
 
 
             2. ผลกระทบที่ได้รับจากปัญหาน้ำท่วม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
การจราจรติดขัด ไม่สามารถเดินทางไปไหนได้
47.5
เกิดขยะ น้ำเน่าเหม็น
36.8
เกิดผลกระทบต่ออาชีพ การงาน การเรียน
24.4
เกิดโรคที่มาจากน้ำ เช่น น้ำกัดเท้า เชื้อรา
15.0
รถเสีย รถพัง
11.3
ข้าวของที่บ้านเสียหาย
10.1
อื่นๆ อาทิเช่น ไม่ได้รับผลกระทบ มีสัตว์มีพิษ ยุงลาย ห้องน้ำใช้ไม่ได้
31.3
 
 
             3. ความพึงพอใจต่อการแก้ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ กทม.

 
ร้อยละ
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างมาก ร้อยละ 50.5 และมากที่สุด ร้อยละ 8.0)
58.5
ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างน้อย ร้อยละ 37.8 และน้อยที่สุด ร้อยละ 3.7)
41.5
 
 
             4. ข้อคำถาม “อยากให้ กทม. พัฒนา แก้ไข ปรับปรุงในเรื่องใด กับปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ กทม.”
                   (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)


 
ร้อยละ
อยากให้เตรียมความพร้อมในการรับมือ มีการวางแผนป้องกันน้ำท่วม เช่น ขุดลอกคูคลอง กำจัดขยะ
80.3
อยากให้ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่อย่างทันท่วงที
48.0
อยากให้มีความฉับไวในการแก้ปัญหาน้ำท่วม
46.8
อยากให้มีการให้ความช่วยเหลือ เยียวยา ผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วมในเขตกรุงเทพฯ
37.7
อยากให้มีการแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ กทม. ที่รวดเร็ว ชัดเจน
35.7
อยากให้การเจรจาทำความเข้าใจกับคนในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม
21.2
อื่นๆ อาทิเช่น อยากให้ปรับปรุงถนนไม่ให้เป็นหลุมบ่อ ปรับปรุงฝาท่อที่ชำรุด รณรงค์ให้คัดแยกขยะ
2.3
 
 
             5. ข้อคำถาม “เชื่อมั่นมากน้อยเพียงใดว่าปีหน้า กทม. จะสามารถรับมือกับปัญหาน้ำท่วมได้”

 
ร้อยละ
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างมาก ร้อยละ 53.9 และมากที่สุด ร้อยละ 11.9)
65.8
ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างน้อย ร้อยละ 29.8 และน้อยที่สุด ร้อยละ 4.4)
34.2
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                  1) เพื่อสะท้อนถึงผลกระทบที่ได้รับจากปัญหาน้ำท่วม
                  2) เพื่อสะท้อนถึงความพึงพอใจต่อการแก้ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ กทม.
                  3) เพื่อสะท้อนความเห็นต่อสิ่งที่อยากให้ กทม. พัฒนา แก้ไข ปรับปรุงใน หากเกิดปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ กทม.
                  4) เพื่อสะท้อนความเชื่อมั่นว่าปีหน้า กทม. จะสามารถรับมือกับปัญหาน้ำท่วมได้
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชากรในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป จำนวน 20 เขต
จากทั้งหมด 50 เขต แบ่งเป็นเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย คลองสามวา จตุจักร ดอนเมือง ดินแดง
ทวีวัฒนา บางเขน บางแค บางกอกน้อย บางกะปิ บางซื่อ บางนา บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ ภาษีเจริญ มีนบุรี ราชเทวี
สาทรและสายไหม ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดย
การสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,203 คน
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว (face to face interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุด
มาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 16 - 19 กันยายน 2565
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 24 กันยายน 2565
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
595
49.5
             หญิง
608
50.5
รวม
1,203
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
299
24.9
             31 – 40 ปี
242
20.1
             41 – 50 ปี
249
20.7
             51 – 60 ปี
223
18.5
             61 ปีขึ้นไป
190
15.8
รวม
1,203
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
876
72.8
             ปริญญาตรี
301
25.0
             สูงกว่าปริญญาตรี
26
2.2
รวม
1,203
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
76
6.3
             ลูกจ้างเอกชน
290
24.1
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
545
45.3
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
27
2.2
             ทำงานให้ครอบครัว
8
0.7
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
127
10.6
             นักเรียน/ นักศึกษา
112
9.3
             ว่างงาน
18
1.5
รวม
1,203
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898